สะเดา

โพสท์เมื่อ 10 ตุลาคม 2558

สะเดา (neem) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ที่เจริญเติบโตได้เร็ว เป็นไม้ที่มีประโยชน์ในหลายด้าน ปัจจุบันนิยมปลูกเพื่อจำหน่ายดอก บริโภคดอก และเพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้สำหรับการแปรรูป

สะเดาสามารถเจริญเติบโตได้ทุกในสภาพดิน ลำต้นมีลักษณะตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ แตกสะเก็ดออกเป็นร่องตื้นๆ จะแตกใบเป็นพุ่มสีเขียวตลอดหลายเดือน ใบจะผลิร่วง และออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยจะแตกยอดอ่อนออกมาก่อน และตามด้วยช่อดอกสีขาวตามปลายยอด และบริเวณตามตามกิ่งแขนง ส่วนผลจะมีลักษณะคล้ายผลองุ่นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่เป็นผลสุกจะออกสีเหลืองอ่อนอมเขียวเล็กน้อย



สะเดาสามารถเจริญเติบโตได้ทุกในสภาพดิน ลำต้นมีลักษณะตรง เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ แตกสะเก็ดออกเป็นร่องตื้นๆ จะแตกใบเป็นพุ่มสีเขียวตลอดหลายเดือน ใบจะผลิร่วง และออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม โดยจะแตกยอดอ่อนออกมาก่อน และตามด้วยช่อดอกสีขาวตามปลายยอด และบริเวณตามตามกิ่งแขนง ส่วนผลจะมีลักษณะคล้ายผลองุ่นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่เป็นผลสุกจะออกสีเหลืองอ่อนอมเขียวเล็กน้อย ประโยชน์จากสะเดา

1. การบริโภคดอก ปัจจุบันนี้ ดอกสะเดาเป็นที่นิยมนำมารับประทานกันมากในทุกๆภาค โดยนิยมรับประทานยอดใบอ่อน และดอกอ่อนที่เริ่มแทงออกหลังการผลิใบ โดยเฉพาะพันธุ์ที่ให้รสขมน้อย และมีรสอมหวานเล็กน้อย การรับประทานสามารถรับประทานได้ทั้งดิบ และสด โดยเฉพาะนิยมนำมารับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือใส่ในอาหารเพื่อให้มีรสขมเล็กน้อย โดยสะเดาจะออกดอกให้รับประทานกันในเดือนมกราคม-มีนาคม แต่ปัจจุบันมีจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน-มีนาคม เนื่องจากมีบางพันธุ์ที่สามารถทำให้ออกดอกก่อนฤดูได้ เช่น พันธุ์ทะวายขาวผ่อง

2. ประโยชน์จากลำต้น และเนื้อไม้ – ประโยชน์จากลำต้น โดยเฉพาะลำต้นที่มีอายุไม่มาก 2-5 ปี ขนาดลำต้น 3-6 นิ้ว สามารถตัดฟันมาทำเสาโรงเรือน เสาล้อมรั้ว ซึ่งจะใช้ประโยชน์ของลำต้นทั้งต้น – ประโยชน์จากเนื้อไม้ เป็นการใช้ประโยชน์จากนำไม้มาแปรรูปใช้ประโยชน์ มักใช้ไม้สะเดาที่มีอายุมาก 5 ปี ขึ้นไป ขนาดลำต้น 6 นิ้ว ขึ้นไป เพราะไม้สะเดาที่มีอายุมากจะให้เนื้อไม้คล้ายต้นมะฮอกกานีแต่จะสีอ่อนกว่า มักมีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล เนื้อไม้แน่น มีความแข็งแรงมาก นิยมนำมาแปรรูปเป็นไม้ฝาหรือประตูบ้าน ไม่วงกบ และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

3. การสกัดน้ำมัน น้ำหมันที่สกัดได้จากสะเดาจะสกัดจากส่วนของเมล็ด ซึ่งจะได้น้ำมันประมาณ 40% ของน้ำหนักเมล็ด เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเชื้อเพลิง หรือน้ำมันหล่อลื่น

4. อุตสาหกรรมเคมี เนื่องจากเปลือกของสะเดามีสารบางชนิดที่ให้รสฝาด และน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาโรค เครื่องสำอาง และการทำสบู่ รวมถึงส่วนผสมในยากำจัดศัตรูพืช

5. การป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช ใช้สกัดสารสำหรับเป็นส่วนผสมของยาป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช สารเหล่านี้ ได้แก่ azadiracthin deacetylazadirachtiuol และnimbidin เป็นต้น สารเหล่านี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโต และการลอกคราบของแมลง และเชื้อราบางชนิดได้ แต่วิธีที่ง่าย และเป็นที่นิยมสำหรับเกษตร ไทย คือ การนำใบหรือเมล็ดสะเดามาต้มน้ำ และใช้น้ำต้มสะเดาที่ได้นำมารดพืชผักในแปลง

สะเดา ถือเป็นพืชสมุนไพรที่เด่นในเรื่องของการไล่แมลง ทำให้ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีไล่แมลงส่วนใหญ่ต้องมีสะเดาเป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ 

จากข้อมูลของ ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เผยว่า การนำสะเดามาใช้เป็นสารฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืชนั้นจะใช้ส่วนของ­­­ใบ และเมล็ดของสะเดามาสกัดกับแอลกอฮอล์และน้ำ เพื่อให้ได้สารสกัดที่เรียกว่า สารอะซาไดแรคติน (Azadirachtin) ซึ่งเป็นสารที่ปลอดภัยต่อมนุษย์ และมีคุณสมบัติไล่แมลง ทำให้แมลงไม่ชอบกินอาหาร ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง ทำให้หนอนไม่ลอกคราบหนอนตายในระยะลอกคราบ ลักษณะการออกฤทธิ์จะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนของแมลงทำให้มีการผล­­­ิตไข่และการฟักไข่ลดน้อยลง สำหรับกากที่เหลือจากการสกัดน้ำมัน จะเรียกว่า นีม เค้ก (Neem cake) สามารถใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ผสมกับกากนํ้าตาลใช้เป็นอาหารสัตว์ ทำเป็นปุ๋ยยูเรีย และใช้เป็นสารฆ่าแมลงสารฆ่าโรคพืช หรือไส้เดือนฝอยบางชนิด 

6. สมุนไพร คนโบราณ และตำรายาสมุนไพรในปัจจุบันกล่าวถึงประโยชน์ของสะเดาในด้านสมุนไพรไว้ ดังนี้

  • เปลือก และราก ต้มน้ำใช้รับประทานช่วยเจริญอาหาร และลดไข้
  • เปลือก ราก และใบใช้บดผสมน้ำประคบแผล ช่วยในการฆ่าเชื้อ และสมานแผล แก้โรคผิวหนัง
  • ใบ ใช้ต้มรับประทานลดไข้ ลดเบาหวาน
  • ผล ใช้รับประทานเป็นยาถ่าย แก้ริดสีดวง และปัสสาวะขัด

7. การทำปุ๋ย ใบ และเมล็ดสะเดาที่ร่วงตามพื้น สามารถกองรวบกันนำมาหมักทำปุ๋ยหรือโรยในแปลงเกษตรเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารให้แก่ดิน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.puechkaset.com