ตะไคร้หอมพืชสวนครัวใกล้ตัวประโยชน์สารพัด

วิธีการไล่ยุงด้วยตะไคร้หอมมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้แบบสเปรย์ น้ำมันหอมระเหย หรือเครื่องพ่นไอน้ำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกัดของยุงในเวลาที่ต้องออกนอกบ้านในช่วงเวลาหัวค่ำที่ยุงเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การใช้น้ำมันตะไคร้หอมทาบนผิวก็เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงได้ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้วิธีใดก็สามารถป้องกันการกัดของยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายมากมายในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ยากันยุงที่มีสารเคมีอันตรายในตัว

ตะไคร้หอม
ตะไคร้หอม สมุนไพรไทยมากประโยชน์

มารู้จักตะไคร้หอมกัน

ตะไคร้หอม เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับตะไคร้บ้าน แต่มีกลิ่นหอมฉุนที่แรงกว่า นิยมนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ต้มน้ำดื่ม ทำธูป และใช้ในการป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช ตะไคร้หอม (Citronella grass) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์ Gramineae พันธุ์ที่นิยมปลูกมากเพื่อการผลิตน้ำมันหอมระเหย มีอยู่ 2 ชนิด คือ พันธุ์Cymbopogonnardus Lin. มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ตะไคมะขูด ตะไคร้มะขูด (ภาคเหนือ) หรือตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช) ส่วนอีกชนิดคือพันธุ์Cymbopogonwinterianus Jowitt ปลูกมากบริเวณเกาะชวา มีชื่อพื้นเมืองว่า Mahapengiri ซึ่งต่อมาได้กระจายออกไปหลายแห่ง เช่น เกาะไต้หวัน เกาะไฮติ และเป็นชนิดที่ปลูกมากในประเทศไทย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นตะไคร้

  • ลำต้น ตะไคร้หอมเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณได้นาน 6-8 ปี เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม เจริญเติบโตด้วยการแตกหน่อ หรือแตกเหง้า มีทรงพุ่มเป็นกอคล้ายตะไคร้บ้าน มีลำต้นยื่นจากเหง้าสั้น รูปทรงกระบอก ผิวเรียบเกลี้ยง ส่วนเหนือดินสูงได้ตั้งแต่ 1-2 เมตร
  • ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ยาว แต่บางกว่าตะไคร้บ้าน ใบเรียวยาว กว้าง 1.5-2.6 เซนติเมตร ยาว 60-115 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักถี่ คมแข็ง มีผิวใบสาก ไม่มีขน บริเวณโคนใบด้านในมีขน ปลายใบยาวมีลักษณะโน้มลง ใบมีสีเขียวแกมเหลือง กาบใบเป็นส่วนหุ้มที่มองเป็นลำต้นเทียม มีสีเขีนวแกมแดงหรือสีม่วง ซึ่งต่างจากตะไคร้บ้านที่มีสีขาวอมเขียว
  • ดอก และเมล็ด ดอกออกในฤดูหนาว ออกเป็นช่อยาวขนาดใหญ่ เป็นแบบแยก แขนงขนาดใหญ่ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร แกนก้านช่อยาวโค้งหักไปหักมา ช่อดอกย่อยเป็นแบบกระจับหรือแบบเชิงลด ดอกประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ กาบล่างมี 2 หยัก สีใส รยางค์แข็งยาว (ถ้ามีรยางค์) ไม่มีกาบบน กลับเกล็ดมี 2 กลับ เกสรเพศผู้มี 3 อัน เกสรเพศเมียมี 2 อัน ยอดเกสรปกคลุมด้วยขนยาวนุ่ม ก้านย่อยรูปรี เป็นดอกเพศผู้หรือดอกเป็นหมัน กาบช่อย่อยข้างล่าง มีเส้น 7-9 เส้น  ดอกย่อยจริงมีเกล็ด 1 เกล็ด ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร มีสีใส ล้อมเกสรเพศผู้ไว้ 3 อัน และมีกลีบเกล็ด 2 กลีบ ผลเป็นแบบผลแห้งติดเมล็ด รูปทรงกระบอกออกกลม และมีขั้วที่ฐาน

สรรพคุณของตะไคร้หอม

  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยในการย่อยอาหาร และเจริญอาหาร
  • ช่วยป้องกัน และรักษาโรคในช่องปาก ยังยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัสบางชนิด

การใช้ประโยชน์จากตะไคร้หอม

การใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ ตะไคร้หอมเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าตะไคร้บ้าน พบในส่วนใบ กาบใบ และลำต้น มีสรรพคุณทางยา ใช้แก้ริดสีดวงในปาก ปากแตกระแหง แผลในปาก ขับลมในกระเพราะ ลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมคุณสมบัติป้องกันตัวเต็มวัยและสามารถฆ่าไข่ของด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculates)ซึ่งเป็นแมงลงในโรงเก็บเข้าทำลายเมล็ดถั่วเขียวที่เก็บ โดยใช้ citronellal ความเข้มข้นร้อยละ 5 ตั้งทิ้งไว้ในดรงเก็บเมล็ดเป็นเวลา 3 ชั่วโมงสามารถออกฤทธิ์ไล่ตัวเต็มวัยและไข่ของด้วงถั่วเขียวได้ มีการทดลองใช้สารสกัดจากตะไคร้หอมยับยั้งเพลี้ยที่เข้าทำลายต้นยี่หร่าฝรั่งได้โดยใช้ citronellal เข้มข้นร้อยละ 1.0 ฉีดพ่นยี่หร่าฝรั่ง และมีการนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillusflavus และการผลิต aflatoxin พบว่า citronellal ซึ่งเป็นองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม สามารถยับยั้งการผลิต aflatoxin โดยใช้ความเข้มข้นร้อยละ 1.0

สเปรย์กันยุง เพียวกรีน 120 ซีซี
สเปรย์กันยุง เพียวกรีน 120 ซีซี

ทำไมยุงถึงไม่ชอบตะไคร้หอม

ในตะไคร้หอม มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารในกลุ่ม Geraniol และ Citronellol ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ช่วยไล่ยุงได้ 3 ชั่วโมงเลยทีเดียว

  • citronellal ช่วยไล่แมลง
  • camphor บรรเทาอาการคัน
  • linalol ช่วยในการฆ่าเชื้อโรค
  • citral ทำให้กลิ่นสดชื่น

เจ้าพวกนี้นี่แหละที่ทำให้ยุงไม่ชอบกลิ่นของตะไคร้หอม ยุงได้กลิ่นปุ๊บ หนีกันหมดเลยค่ะ เราจึงนิยมนำตะไคร้หอม มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ ตะไคร้หอมไม่เพียงช่วยป้องกันจากกัดของยุงเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติทางการแพทย์ที่น่าสนใจ เช่น ช่วยในการย่อยอาหารและช่วยรักษาโรคในช่องปาก ดังนั้น การใช้ตะไคร้หอมไม่เพียงแค่ประโยชน์ในด้านการไล่ยุงเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์สูงสุดในการดูแลสุขภาพได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง

น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์บีบรัดมดลูก สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน อาจทำให้แท้งได้

 

Scroll to Top